Bed Tips

ความสำคัญการนอนหลับกับวัยเด็ก

เคยสงสัยมั้ย ? 

ทำไมการนอนหลับสำหรับเด็กจึงสำคัญ

การไม่ได้รับการนอนหลับที่เพียงพอเพียงหนึ่งคืน อาจส่งผล

กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เหนื่อยล้า ในช่วงกลางวัน

กระทบต่อประสิทธิภาพการเรียน พัฒนาการ การเข้าสังคม 

มีข้อถกเถียงเกี่ยวกับการนอนหลับที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก 


การวิจัยอาจสามารถบอกได้อย่างชัดเจนมากขึ้นว่าควรนอนหลับอย่างไร ?

เพื่อรักษาสุขภาพโดยรวม จิตใจ และสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


ผู้เขียนขอนำเสนอผลจากการนอนหลับบางประการที่มีต่อเด็ก

ร่างกาย & จิตใจ

ทำให้การฟื้นฟูและเจริญเติบโตของระบบร่างกาย & จิตใจทำงานได้อย่างเป็นปกติ

การจัดตารางการพักผ่อน

เป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำ

การนอนที่ดีมีประสิทธิภาพ สนับสนุนการพัฒนา

ทำให้มีความพร้อมทั้ง ทางร่างกาย & จิตใจ พร้อมเรียนรู้ในเช้าวันใหม่


สมาธิ

การพักผ่อนให้เพียงพอ 

ช่วยให้การทำกิจกรรมระหว่างวันเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

เด็กจะสามารถจดจ่อ เรียนรู้ และทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี


แต่เมื่อไม่ได้รับการนอนหลับที่เพียงพอ 

เด็ก ๆ จะมีแนวโน้มต่อต้านการเรียนรู้ 

ขัดขวางการคิดหรือรับรู้สิ่งใหม่

บางครั้งอาจนำสู่อาการของโรคสมาธิสั้นได้

อารมณ์

เมื่อเด็กหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ

นอกจากความง่วงที่อาจเป็น

อุปสรรคต่อการเรียนรู้

ยังอาจส่งผลถึงสภาวะอารมณ์ 

หงุดหงิด โกรธง่าย อารมณ์แปรปวน


การพักผ่อนที่ดี & เต็มที่

ส่งผลถึงสภาวะอารมณ์ในวันถัดไป

เด็ก ๆ จะตื่นมาด้วยความสดใส 

มีอารมณ์ที่ดี

ทารกแรกเกิด (0-1 เดือน) ส่วนใหญ่นอนเฉลี่ย 13-14.5 ชั่วโมงต่อวัน

    • 8.5 ชั่วโมงในเวลากลางคืน

    • 5.75 ชั่วโมงในระหว่างวัน

เด็กทารก (1-12 เดือน) 

ส่วนใหญ่นอนเฉลี่ย 12-13 ชั่วโมงต่อวัน

    • 9-10 ชั่วโมงในเวลากลางคืน

    • 3-4 ชั่วโมงในระหว่างวัน

**ระยะเวลานอนของเด็กแต่ละคน มีความแตกต่างกันได้มากในช่วงวัยทารก

เด็กวัยเตาะแตะ (ช่วงอายุ 1-3 ปี) ส่วนใหญ่นอนเฉลี่ย 11-13 ชั่วโมงต่อวัน

    • 9.5-10.5 ชั่วโมงในเวลากลางคืน

    • 2-3 ชั่วโมงในระหว่างวัน


เมื่อถึงวัยนี้เด็กอาจโตเร็ว ไม่สามารถนอเปลได้ 

ถึงเวลาที่จะอัพเกรด เป็นเตียงที่ใหญ่กว่า

เด็กวัยก่อนเรียน (ช่วงอายุ 3-5 ปี) 

ส่วนใหญ่นอนเฉลี่ย 9-10 ชั่วโมงต่อวัน

การนอนกลางวันจะลดลงจนไม่ต้องนอนได้

พบว่ามีเด็กในวัยนี้เพียง 15-26% 

ที่ยังต้องนอนในช่วงเวลากลางวัน

ฝึกสุขนิสัยการนอนที่ดี เพื่อลดปัญหาการนอนที่อาจเกิดขึ้น


เด็กวัยก่อนเรียน (ช่วงอายุ 6-12 ปี) 

ส่วนใหญ่นอนเฉลี่ย 9-11 ชั่วโมงต่อวัน

โดยปกติเด็กวัยนี้จะใช้เวลานอนทั้งหมดในตอนกลางคืน 

ในตอนกลางวันอาจเปลี่ยนจากนอนเป็นงีบหลับ 

เพื่อสร้างสุขนิสัย & กิจวัตรที่ดีในการนอนหลับ

การเรียนรู้เกี่ยวกับการนอนหลับ จะช่วยสร้างความพร้อมในการรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้น 

และการวางแผนตารางการนอนที่ดี อาจนำไปสู่การดำเนินชีวิตที่ดีในอนาคต

อ้างอิง:

• นิทราวิทยาในเด็ก (Sleep Science in Children), Sriphat Medical Center, https://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-571