เคล็ดลับสุขภาพ

เคยสงสัยไหม ทำไมเราต้องนอนหลับ?

เคยสงสัยไหม ทำไมเราต้องนอนหลับ?

“เพื่อตื่นมาด้วยความชดชื่น? มีแรงในการทำงาน?

เพราะว่าง่วง ก็เลยนอน 

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า นอนแล้วช่วยอะไร..”

ถ้าคุณเป็นหนึ่งในคนที่ไม่ทราบสาเหตุว่า 

ทำไมเราต้องเข้านอนทุกวัน

เราหวังว่า ข้อความถัดจากนี้จะช่วยเพิ่มความเข้าใจให้คุณได้ ไม่มากก็น้อย


การนอนหลับ และ การนอนหลับที่ดี

มีผลต่อการทำงานของร่างกาย


ไม่ว่าจะเป็น 

กระบวนการขับสารพิษจากสิ่งที่รับประทานเข้าปาก, ทาบนผิวหนัง, สูดดมผ่านจมูก

ระบบสมอง, ความจำ, การเรียนรู้ และสมาธิในการใช้ชีวิตประจำวัน

อารมณ์, ความรู้สึก สุข-เศร้า-โกรธ-เสียใจ-ดีใจ

ความสามารถทางด้านกีฬา, ภูมิคุ้มกัน และการเจ็บป่วย

ระบบประสาท, การจัดการกับความเจ็บปวด รวมถึงการเกิดโรคเบาหวาน

นอกจากนั้น ยังมีผลต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย การควบคุมน้ำหนัก และโรคอ้วนด้วย

การขับสารพิษ

ขณะนอนหลับ เซลล์สมองจะหดตัวลงเหลือประมาณครึ่งหนึ่งของขนาดเดิม 

เพิ่มช่องว่างของสมอง ให้สามารถขับ

ของเสียและสารพิษต่าง ๆ ออกจากสมอง

1 ใน 5 ของอุบัติเหตุทางถนน สันนิษฐานว่ามีสาเหตุมาจากการหลับใน 

ความจำ

การทดลองในหนูที่ถูกฝึก 1 ชั่วโมง แล้วให้มันได้นอนหลับ พบว่า หนูมีการเรียนรู้

และจดจำได้ดีกว่าหนูที่ถูกฝึกหนักติดต่อกันนาน 3 ชั่วโมงโดยไม่พัก

เด็กที่นอนหลับไม่เพียงพอ อาจนำไปสู่

การมีผลการเรียนที่ตกต่ำ, โรคสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้

ความสุข

การได้นอนหลับเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมง อาจทำให้คุณมีความสุขในการใช้ชีวิตในระยะยาว 

มากกว่าการทำงานอย่างหนัก, อดนอน เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น 1 แสนบาทต่อปี

อดนอนแล้วเครียด VS เครียดแล้วอดนอน ?

เมื่อนอนน้อย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล 

ทำให้เกิดภาวะเครียดได้ง่าย

ในขณะที่ความเครียดสามารถรบกวนการนอนได้เช่นกัน 

เช่น อาการนอนไม่หลับ หรือหลับแล้วตื่นขึ้นมากลางดึก

ความสามารถทางกีฬา

งานวิจัยของ Stanford พบว่า 

นักอเมริกันฟุตบอลประเภทมหาวิทยาลัยที่นอน 10 ชั่วโมงต่อคืน ต่อเนื่องเป็นเวลา 7-8 สัปดาห์
มีการพัฒนาทักษะความเร็วและความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญ

ภูมิคุ้มกันและการเจ็บป่วย

ความอ่อนเพลียอันเป็นผลมาจากการนอนหลับไม่เพียงพอ
เป็นตัวบ่งชี้และสาเหตุหลักของระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ 

อาจไม่ได้ทำให้คุณเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น
แต่ทำให้ความสามารถในการต่อสู้กับโรคต่าง ๆ ของคุณน้อยลง

การจัดการกับความเจ็บปวด

การนอนหลับเป็นยาระงับความเจ็บปวด ? นักวิจัยทั่วโลก พบว่า หากเรา

มีการนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายของสามารถจัดการกับ

ความเจ็บปวดได้ดียิ่งขึ้น

โรคเบาหวาน

งานวิจัยของ Harvard ในคนทั่วไป

ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง พบว่า 

เมื่อมีการนอนหลับพักผ่อนน้อยลง ร่างกายจะเริ่มมีการผลิตกลูโคสได้ช้าลง
เป็นปัจจัยหลักที่เป็ นความเสี่ยงที่
ก่อให้เกิดโรคเบาหวาน


การควบคุมน้ำหนัก

การเก็บข้อมูลจากการลดน้ำหนัก พบว่า ในคนที่นอนหลับเพียงพอ น้ำหนัก 
ที่ลดลงส่วนใหญ่เป็น % ไขมันในร่างกาย เทียบกับในคนที่นอนหลับไม่เพียงพอ
น้ำหนักที่ลดลงมักมาจากการสูญเสีย
มวลกล้ามเนื้อมากกว่าไขมันคนที่นอนหลับเพียง 5 ชั่วโมงต่อวัน 
มีโอกาสมากกว่าถึง 73% ที่จะเป็นโรคอ้วน เมื่อเทียบกับคนที่นอนหลับ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน

ถึงเวลาหรือยัง ที่จะสร้างการนอนหลับที่ดี

เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

อ้างอิง

    • science.howstuffworks.com/life/sleep-happiness.htm

    • bbc.com/news/health-27695144

    • medicalnewstoday.com/articles/267611.php

    • health.com/health/gallery/0,,20459221_6,00.html

    • better-sleep-better-life.com/benefits-of-sleep.html

    • webmd.com/sleep-disorders/sleep-benefits-10/healing-power-sleep

    • www.sanook.com/campus/1370341

    • www.sanook.com/health/16369

    • www.nowfoods.com/now/nowledge/how-sleep-better-night